PR

e-Wallet ผู้ช่วยการใช้จ่ายของกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน

TrueMoney Wallet Use (2-4) resized

แน่นอนว่าคนรุ่นใหม่ที่เกิดมาพร้อมกับความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Gen Z หรือ Millennials นั้นย่อมมีความได้เปรียบและปรับตัวรับกับอะไรใหม่ ๆ ได้รวดเร็วกว่าคนรุ่นก่อน ๆ ที่ยังมีความกังวล รู้สึกไม่ปลอดภัย และคุ้นชินกับช่องทางการใช้จ่ายเดิม ๆ โดยในช่วงที่ผ่านมาเราต่างเห็นการรณรงค์จากทั้งภาครัฐและเอกชนในการสร้างสังคมไร้เงินสดให้เกิดขึ้นในประเทศไทย ผ่านการพัฒนานวัตกรรมทางการเงิน และการวางรากฐานระบบ e-Payment ให้แก่คนไทยได้เข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้ตั้งแต่ในวัยเรียนเพื่อสร้างพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ไม่ต้องพึ่งพาเงินสด (Cashless) พร้อม ๆ กับการปลูกฝังวินัยการใช้จ่ายให้แก่คนรุ่นใหม่ ที่กำลังจะเรียนจบออกมาและก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานจริงให้สามารถเอาตัวรอดได้

 

ข้อมูลจากทรูมันนี่ วอลเล็ท พบว่า วันนี้คนกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงานและคนทำงานรุ่นใหม่ช่วงอายุ 22 – 29 เริ่มเข้ามาเป็นผู้ใช้ที่มีสัดส่วนมากที่สุดที่ 29% โดยผู้ใช้กลุ่มนี้ใช้ e-Wallet ชำระสินค้าและบริการต่าง ๆ ทุกวัน เฉลี่ยเดือนละ 9 ครั้ง/คน และมียอดการใช้จ่ายราว 300 กว่าบาทต่อหนึ่งบิล อีกทั้งมีแนวโน้มการใช้งานในปริมาณที่มากขึ้นเพิ่มตามจำนวนจุดรับชำระที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า e-Wallet กำลังเติบโตท่ามกลางไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่เรียนรู้ได้อย่างรวดเร็วว่า e-Wallet สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในเรื่องการจับจ่ายในชีวิตประจำวันของพวกเขาได้ และต่อยอดการใช้งานเมื่อเริ่มเข้าสู่ช่วงเริ่มต้นทำงาน

 

TrueMoney Wallet Use (1-4) resized

 

  • ผู้ใช้ e-Wallet กลุ่ม first jobber และ young executive (ช่วงอายุ 22 – 29 ปี) แบ่งเป็นผู้หญิง 46% และผู้ชาย 54%
  • พื้นที่ที่กลุ่ม first jobber และ young executive ใช้งาน e-Wallet มากที่สุดส่วนใหญ่ยังเป็นในกรุงเทพฯ รองมาคือจังหวัดชลบุรี และเชียงใหม่
  • ผู้ใช้งานกลุ่มนี้เติมเงินเฉลี่ยเดือนละ 6 ครั้ง และช่องทางที่ใช้เติมเงินมากที่สุดคือ I-banking 2. ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น 3. บัตรเดบิต
  • บริการหลักที่กลุ่มวัยเริ่มทำงานใช้ e-Wallet ได้แก่ การเติมเงินและซื้อแพ็กเกจมือถือ 2. การซื้อ Digital Content 3. ใช้จ่ายในส่วนของเซเว่น-อีเลฟเว่น 4. การจ่ายบิล และ 5. การโอนเงินให้คนอื่น
  • ช่องทางใช้จ่ายออนไลน์ยอดนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ Google Play Store, MOL และ Netflix
  • ร้านค้าออฟไลน์ยอดนิยม 3 อันดับแรก ได้แก่ ร้านเซเว่น-อีเลฟเว่น แมคโคร และเมเจอร์

 

สิ่งสำคัญที่มนุษย์เราต้องปรับตัวเมื่อก้าวเข้าสู่โลกการทำงาน นอกจากการเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ ๆ เพื่อนร่วมงานใหม่ ๆ  ตารางการทำงานที่เร่งรีบ รวมไปถึงเรื่องส่วนตัวโดยเฉพาะการใช้จ่ายอดออมคือสิ่งสำคัญที่หลายคนอาจละเลย และมักติดกับดักไปกับสิ่งเร้าต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามา ทำให้ควักกระเป๋าจ่ายได้อย่างง่ายดายเหมือนต้องมนตร์ บางคนใช้เงินเกินตัวและไม่เก็บออม เมื่อถึงเวลาจำเป็นต้องใช้เงินก็ต้องไปกู้ยืมมาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า พอกพูนจนกลายเป็นหนี้สิน และขาดความรับผิดชอบในการผ่อนจนทำให้เสียประวัติทางการเงินสอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดจากสมาคมธนาคารไทยเผยสถิติคนรุ่นใหม่สร้างหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อยและส่วนใหญ่เป็นหนี้เพื่อการบริโภคมากกว่าหนี้เพื่อการสร้างสินทรัพย์ และมากกว่า 20% กลายเป็นหนี้เสีย ขณะที่อัตราการออมเพิ่มขึ้นเฉลี่ยเพียงปีละ 3% เท่านั้น สะท้อนให้เห็นว่ายังขาดวินัยการออม และขาดความระมัดระวังในการบริหารเงินส่วนบุคคล

 

ทรูมันนี่ หนึ่งในผู้นำบริการกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย มีเคล็ด (ไม่) ลับ สำหรับการใช้ e-Wallet เพื่อสร้างวินัยการใช้เงินอย่างชาญฉลาดผูกกับไลฟ์สไตล์การทำงานของกลุ่มวัยเริ่มต้นทำงาน กลายเป็นหนึ่งในผู้ช่วยสำคัญที่อยู่ใกล้ตัวแค่มือถือ มาแนะนำดังนี้

 

TrueMoney Wallet Use (4-4)

 

  • ใช้ e-Wallet เพื่อป้องกันการใช้เงินเกินตัวและสร้างวินัยทางการเงิน เพียงกำหนดวงเงินที่ต้องใช้จ่ายประจำ หรือเติมเงินเท่าจำนวนที่ต้องการจ่ายจริงในเดือนนั้น ๆ อาจโอนเงินเข้าตามจำนวนที่ต้องการใช้จริงต่อเดือนไว้ในแอปฯ หรือกำหนดจำนวนที่อยากใช้เมื่อผูกกับบัญชีบัตรอื่น ๆ จะช่วยให้เราบริหารจัดการได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะจ่ายบิล ค่าน้ำ ค่าไฟ โอนให้คุณพ่อคุณแม่แต่ละเดือน แถมยังแตกต่างจากการใช้เงินสดที่ผู้จ่ายต้องคอยจดทำบัญชีเอง แต่ในแอปฯ e-Wallet นั้นสามารถย้อนมาดูรายการใช้จ่ายได้

 

  • ใช้ e-Wallet เป็นผู้ช่วยทำบัญชีรับ-จ่าย เพื่อสร้างวินัยการเงินในยุคดิจิทัล การมีบัญชีรายรับ-รายจ่ายดิจิทัลไว้ใช้งาน ตรวจสอบการทำธุรกรรมต่าง ๆ แบบเรียลไทม์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีที่ช่วยในการบริหารจัดการเงินได้ดียิ่งขึ้น เช่น สรุปการใช้เงินในสัปดาห์นี้หรือเดือนนี้ว่าใช้ไปกับอะไรบ้าง มีรายจ่ายอะไรที่ไม่จำเป็นบ้าง เช่น ดูหนังหรือกินข้าวนอกบ้านบ่อยไปไหม เพื่อวางแผนการใช้จ่ายต่อไป และหักเงินออมเก็บไว้ เพราะทุกความสำเร็จมาจากการวางแผนที่ดีทั้งนั้น

 

  • ใช้ e-Wallet เพื่อเพิ่มความคล่องตัวในการเริ่มชีวิตทำงาน น้อง ๆ ที่เพิ่งเรียนจบหรือและกำลัง ตั้งต้นเริ่มชีวิตการทำงานอาจยังทำบัตรเครดิตไม่ได้ แต่ด้วยนวัตกรรมทางการเงินในวันนี้ช่วยทำให้ทุกคนสร้าง Virsual Card รูปแบบใหม่ (WeCard) เพื่อเข้าถึงแหล่งรวมดิจิทัลคอนเทนต์หาความรู้เพิ่มเติม ซื้อแอปพลิเคชั่น หรือดิจิทัลคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่เสริมการทำงานได้ เพียงผูกบัญชีเข้ากับ App Store หรือ Google Play Store อีกทั้งช่วยประหยัดเวลา อย่างที่รู้กันว่าวัยเริ่มทำงานต้องปรับตัวหลายอย่าง และเรื่องหนึ่งคือเวลาการทำงานที่รีบเร่งซึ่งแตกต่างจากการเรียนที่มหาวิทยาลัย e-Wallet จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวและมอบความสะดวกสบายนอกเหนือจากการจ่ายบิลต่าง ๆ อาทิ เวลาลงไปทานอาหารกลางวัน หรือไปซื้อของว่างที่ร้านสะดวกซื้อ ก็ไม่ต้องเสียเวลาคอยหาเหรียญ รอแตกธนบัตรเพื่อรับเงินทอน เป็นต้น

 

  • ใช้ e-Wallet เพิ่มมูลค่าจากการใช้จ่าย สิทธิพิเศษจากผู้ให้บริการหรือร้านค้ามีมาเรื่อย ๆ ใน e-Wallet เพียงหมั่นตรวจสอบโปรโมชั่นต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับเงินคืนหรือการสะสมแต้มที่ควรได้รับ รวมทั้งดีลส่วนลด หรือสิทธิพิเศษอื่น ๆ หรือทำภารกิจต่าง ๆ ในแอปฯ หากสังเกตดี ๆ จะพบว่าในแอปฯ e-Wallet มีภารกิจมากมายให้ทำและยังได้ของรางวัลหรือเงินคืนเข้าในแอปฯ อีกด้วย

 

TrueMoney Wallet Use (3-4)

ทั้งหมดเป็นเเนวทางการใช้งาน e-Wallet ง่าย ๆ ของคนรุ่นใหม่ ที่ตอกย้ำการเป็นผู้ช่วยเรื่องการใช้จ่ายได้จริงกับชีวิตในวัยเริ่มต้นทำงาน เพื่อดูแลค่าใช้จ่ายตนเอง ไม่รบกวนผู้ปกครองเวลาออกมาเผชิญกับโลกการทำงานจริง แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือการทำงานมีเงินแล้วและสร้างวินัยการใช้เงิน รวมถึงวินัยการใช้เทคโนโลยีทางการเงิน ก็จะทำให้ e-Wallet สามารถเป็นผู้ช่วยของวัยเริ่มทำงานได้อย่างแท้จริง





Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

To Top