PR

อีริคสันพัฒนาแพลทฟอร์ม เผยความคาดหวังของผู้บริโภคพร้อมเดินหน้าเข้าสู่ยุค 5G

OLYMPUS DIGITAL CAMERA
  • อีริคสันพัฒนาซอฟท์แวร์ 5G พร้อมใช้งานทั้งในส่วน Radio Networks และ Core Networks พร้อมให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาสที่ 4 ปี 2561
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์ในส่วน Radio เพื่อให้เกิดการวิวัฒนาการไร้รอยต่อจาก 4G ไปยัง 5G
  • ความคาดหวังของผู้บริโภค6 ประการกับบริการในยุค 5G

 

กรุงเทพฯ อีริคสัน ประเทศไทยเข้าร่วมงาน 5G เปลี่ยนโลก เปลี่ยนประเทศไทย แบ่งปันวิสัยทัศน์และข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับ เทคโนโลยี 5Gให้แก่ผู้เข้าเยี่ยมชมภายในงานอีริคสันยังจัดแสดงเทคโนโลยี 4Gและ 5Gสามารถเปลี่ยนวิถีชีวิตผู้คนผ่านเกมกีฬาอัจฉริยะ ด้วยแพลตฟอร์มซอฟท์แวร์ในการรวบรวม วิเคราะห์ และแชร์ข้อมูล เช่น วีดีโอสตรีมมิ่ง และตำแหน่งของผู้เล่นในสนามกีฬา นอกจากนี้เกมกีฬาอัจฉริยะนี้ยังสามารถตรวจติดตามตำแหน่งของผู้เล่นและอัตราการเต้นของหัวใจ เพื่อใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับการฝึกฝนนักกีฬา

อีริคสันกับความพร้อมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเข้าสู่ยุค 5G

อีริคสันได้พัฒนาซอฟท์แวร์ 5G Radio Access Network (RAN)ที่สามารถให้บริการเชิงพาณิชย์ได้ โดยได้รับการรับรองตามมาตรฐาน 3GPP 5G New Radio (NR) เป็นรายแรกของโลก โดยมีการนำเสนอสถานีฐานแบบใหม่ที่เรียกว่า Street Macro  เพื่อตอบโจทย์ผู้ให้บริการที่มีข้อจำกัดในการหาสถานที่ตั้งสถานีฐานในเขตเมืองนอกจากนี้อิริคสันได้เพิ่มความสามารถ 5G Core ให้รองรับ 5G NR ด้วยพร้อมขยายขีดความสามารถของ Distributed Cloud Solution

นาดีน อัลเลน ประธานบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า “ผู้ให้บริการที่ต้องการเป็นเจ้าแรกในการพัฒนา 5Gจำเป็นต้องเปิดตัวโครงข่าย 5Gภายในปีนี้ อีริคสันได้พัฒนาแพลทฟอร์มที่จะสามารถทำให้ผู้ให้บริการมีโครงข่ายที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสร้างรายได้ใหม่ ๆ จากผู้บริโภคและการใช้งานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ”

 

 

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

ผู้นำเทคโนโลยีรายแรกที่พัฒนาเข้าสู่5G เชิงพาณิชย์

5G Software ที่พัฒนาทั้งใน RAN และ Core และสามารถใช้ได้ในทุกคลื่นความถี่เพื่อรองรับการติดตั้งได้ทั่วโลก ทำให้อีริคสันกลายเป็นผู้นำเทคโนโลยีรายแรกที่พัฒนาเข้าสู่ 5G เชิงพาณิชย์ซึ่งจะยกระดับบริการต่างๆ รวมทั้งบริการวิดีโอที่มีความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นเข้าสู่ระบบ 4K/8K หรือ AR/VR ได้

Distributed Cloud ของอีริคสันเร่งการเติบโตของ 5G และIoT

ในส่วนของDistributed Cloudจะเป็นส่วนเร่งการเติบโตของ 5G และ IoT โดยระบบคลาวด์ของอิริคสันจะเป็นการรวมตัวของส่วนที่ดีที่สุดของโทรคมนาคมและคลาวด์เพื่อสร้างเครือข่ายที่จะรองรับแอพพลิเคชั่นส์ตามความต้องการของผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้บริโภค และธุรกิจ โดยสามารถใช้ได้กับระบบฮาร์ดแวร์หลายยี่ห้อได้ ทั้งนี้ระบบคลาวด์ของอิริคสันพัฒนาขึ้นตามแนวทาง Software Defined Infrastructure (SDI)

พัฒนาอุปกรณ์สถานีฐานแบบใหม่เพื่อรองรับการพัฒนาอย่างไร้รอยต่อจาก4G ไปยัง 5G

โดยStreet Macro จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างระหว่างสถานีฐานแบบ Macro และ Micro โดยสถานีฐานชนิดใหม่นี้สามารถไปติดตั้งในพื้นที่ที่จำกัดตามตึกสูงในเมืองได้เหมือนแบบ Microแต่สามารถให้การครอบคลุมของสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนแบบMacro นอกจากนี้เทคโนโลยีของผลิตภัณฑ์สถานีฐานชนิดใหม่ Massive MIMO Technology จะช่วยการพัฒนาเครือข่าย 4G เดิมเข้าสู่ 5G โดยตอบสนองความต้องการในการเพิ่มความเร็วขึ้น ทั้งนี้ระบบสถานีฐานของอิริคสันที่มีการติดตั้งตั้งแต่ปี 2558 สามารถอัพเกรดเป็น 5G NR โดยการติดตั้งซอฟท์แวร์จากทางไกลได้โดยการผสมผสานของผลิตภัณฑ์ใหม่ของอิริคสันรวมทั้งการสนับสนุน 5G บนสถานีฐานที่ติดตั้งไปแล้วจะทำให้ผู้ให้บริการสามารถเข้าสู่ยุค 5G ได้อย่างยืดหยุ่นและสร้างโอกาสใหม่ๆสำหรับแอพพลิเคชั่นส์ในอุตสาหกรรมอื่นๆได้

ความคาดหวังของผู้บริโภคเมื่อเข้าสู่ยุค5G

จากรายงาน Towards a 5G consumer futureของอิริคสันที่มีการสำรวจความต้องการพื้นฐาน 6 ประการของผู้บริโภคเพื่อเข้าสู่เทคโนโลยี 5G มีดังนี้

  • ลดความซ้ำซ้อนของแพ็คเกจต่างๆ จากการสอบถามผู้ใช้บริการหกในสิบคิดว่าแพ็คเกจดาต้าของผู้ให้บริการมีความซับซ้อนสร้างความสับสนเป็นอย่างมาก จนบางครั้งรู้สึกว่าสิ่งที่ซื้อบริการไม่ใช่สิ่งที่ตนต้องการ ดังนั้นความคาดหวังของผู้ใช้บริการต้องการแพ็คเกจที่ใช้ง่ายไม่ซับซ้อนจนเกินไป
  • นำเสนอบริการดาต้าที่ไม่ต้องกังวลถึงข้อจำกัดปริมาณการใช้ แม้ว่าผู้บริโภคไม่ได้คาดหวังถึงการใช้งานข้อมูลโดยไม่มีขีดจำกัด แต่ก็พวกเขาต้องการที่จะใช้งานโดยไม่ต้องกังวลถึงข้อจำกัดเหล่านี้ ผู้ให้บริการควรมีทางเลือกอื่นๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค มากกว่าการนำเสนอแพ็คเกจแบบ Unlimited data plan เพียงอย่างเดียว
  • จำนวนดาต้าทราฟฟิกที่ซื้อไว้ไม่ว่าจะใช้หรือไม่ก็ตามผู้ใช้บริการควรได้ผลประโยชน์เต็มที่ โดยเฉลี่ยผู้ใช้บริการสมาร์ทโฟนจะมีจำนวนดาต้าที่ไม่ได้ใช้อยู่ประมาณ 31 กิกกะไบท์ในแต่ละปี ซึ่งจำนวนนี้พอที่จะสามารถใช้วิดีโอโฟนได้ถึง 65ชั่วโมง หรือใช้ฟังเพลงออนไลน์ได้ถึง 517ชั่วโมง หรือนำมาดูซีรีย์เช่น Game of Throneได้ถึง 6 ซีชั่นส์ โดยสองในห้าของผู้ใช้บริการคาดหวังว่าในอนาคตส่วนเกินนี้ผู้ใช้จะสามารถนำมาใช้ในการทำธุรกรรม ซื้อ ขาย หรือแลกเปลี่ยนได้เหมือนกับสกุลเงิน
  • ควรให้ทางเลือกมากกว่า Data Bucket ในปัจจุบันผู้ให้บริการมักจะใช้ระบบ Data Bucketในการคิดเพียงปริมาณการใช้งานดาต้าทราฟฟิกเท่านั้น แต่ความเป็นจริงแล้วความเร็วของดาต้าและสัญญาที่เป็นธรรมมีความสำคัญกว่าระบบ Data Bucketมาก เนื่องจากปัจจุบันคอนเท้นท์ที่เป็นวิดิโอหรือบริการภายใต้นวัตกรรมใหม่เริ่มมีบทบาทมากขึ้น ดังนั้นผู้ใช้บริการคาดหวังถึงการแพ็คเกจที่มีความสร้างสรรค์และตอบโจทย์ความเป็นส่วนบุคคลมากขึ้นเพื่อให้สอดคล้องการใช้งานที่มีความแตกต่างในแต่ละคน
  • 5Gสามารถให้ได้มากกว่า จากความเชื่อเดิมที่คาดว่าผู้บริโภคไม่น่าจะสนใจ5G มากนัก แต่จากการสำรวจผู้บริโภคที่ใช้สมาร์ทโฟนทั่วโลกพบว่า 76 เปอร์เซ็นต์ สนใจ 5Gและ 44 เปอร์เซ็นต์พร้อมที่จะจ่ายเงินเพื่อจะได้ใช้บริการ 5Gและผู้บริโภคเหล่านี้เชื่อว่า 5G จะขึ้นมาเป็นบริการหลักภายใน 3-4ปีข้างหน้าโดยมากกว่าครึ่งคาดว่าจะใช้บริการ 5Gภายในสองปีและมีความคาดหวังว่า 5Gจะให้บริการที่มีความเร็วสูงขึ้น ครอบคลุมมากกว่า และราคาประหยัดลง รวมทั้งประหยัดพลังงาน อุปกรณ์มีความหลากหลายมากกว่าโทรศัพท์ และไม่อยากจ่ายค่าบริการตามจำนวนกิกกะไบท์อีกต่อไป แต่คาดหวังว่าจะเป็นค่าบริการอัตราเดียวสำหรับบริการ 5G หรือตามจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ
  • เครือข่าย 5Gที่เชื่อถือได้จริง ผลรายงานชี้ให้เห็นว่ามีเพียง4เปอร์เซ็นต์ของผู้ให้บริการที่มีสถิติคุณภาพเครือข่ายเป็นไปตามโฆษณา ผู้ใช้บริการเรียกร้องให้ผู้ให้บริการหลีกเลี่ยงการสร้างสโลแกนโฆษณาที่ไม่ได้สอดคล้องกับคุณภาพของเครือข่ายตนเอง แต่อยากให้ทำการตลาดอย่างซื่อสัตย์เป็นจริง

 

 

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

OLYMPUS DIGITAL CAMERA

คาดการณ์ 5G จากรายงาน Ericsson Mobility Report

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2560 ได้มีการประมาณการณ์ว่าจะมีผู้ใช้บริการ 5G ถึงหนึ่งพันล้านรายทั่วโลกภายในปี 2566 หรือในอีกห้าปีข้างหน้า โดยการใช้งานเทคโนโลยี 5G นั้นคาดว่าจะเริ่มต้นจากพื้นที่เขตเมืองที่มีประชากรหนาแน่น และจะแพร่หลายครอบคลุมถึง 20 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากรโลกภายในสิ้นปี 2566 โดยคาดว่าผู้ให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์จะเกิดขึ้นภายในปี 2562 และจะขยายตัวเป็นอย่างมากภายในปี 2563 โดยประเทศกลุ่มที่คาดว่าจะมีการใช้งานเป็นกลุ่มแรกๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และจีน

 

จับตามองประเทศไทย

จากรายงาน Ericsson Mobility Reportเผยว่าประเทศไทยจะมีการเติบโตของผู้ใช้บริการจาก 95 ล้านรายในปี 2560 เพิ่มขึ้นเป็น 115 ล้านรายภายในปี 2566 โดยทั้งนี้จะเป็นผู้ใช้สมาร์ทโฟนถึง 100 ล้านรายหรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 87 เปอร์เซ็นต์

นาดีน อัลเลน ประธานบริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า “เราคาดว่าปริมาณผู้สมัครใช้บริการ LTE/5G จะเติบโตเพิ่มขึ้นกว่าสองเท่าจากปี 2560 ถึงปี 2566 ซึ่งจะทำให้ในปี 2566 สัดส่วนของผู้สมัครใช้บริการ LTE/5G มีมากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของผู้สมัครใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมด”

“เทคโนโลยี 5G ยังสามารถสร้างรายได้ให้แก่ผู้ให้บริการเครือข่ายเพิ่มขึ้นได้ถึง 22 เปอร์เซ็นต์หรือ 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทย รวมถึงภาครัฐ ควรมีการเตรียมความพร้อมที่จะนำศักยภาพของเทคโนโลยี 5G มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภคชาวไทยและผู้ประกอบการ อีริคสันและกลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับเครือข่าย 5G จะสามารถช่วยให้ผู้ให้บริการเครือข่ายในประเทศไทยย้ายจากเทคโนโลยี 4G มาเป็น 5G ได้อย่างต่อเนื่อง” นาดีน กล่าวเพิ่มเติม





Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

To Top