PR

Ericsson Mobility Report:รายงานสถานการณ์ธุรกิจโทรคมนาคม ความคืบหน้าเกี่ยวกับ5Gและการเติบโตของการขยายโครงข่าย Cellular IoT

03_5G addressable per industry
  • คาดการณ์จำนวนอุปกรณ์ที่ใช้การเชื่อมต่อบนเทคโนโลยี Cellular IoT จะสูงถึง 5พันล้านชิ้นภายในปี 2566
  • อเมริกาเหนือจะเป็นผู้นำในการเปิดให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์เป็นแห่งแรกภายในปีนี้
  • ปริมาณทราฟฟิกของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่จำนวน 20 เปอร์เซ็นต์จะอยู่บนโครงข่าย 5G

 

ประเด็นสำคัญในรายงานEricssonMobility Report ฉบับล่าสุด คือ ความพร้อมในการให้บริการ 5G เชิงพาณิชย์ และการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT ผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

อีริคสันคาดการณ์ว่าในปีนี้จำนวน Cellular IoTจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจากเดือนพฤศจิกายนปี 2560และจะเติบโตอย่างต่อเนื่องไปถึงจำนวน 3.5 พันล้านชิ้นภายในปี 2566 โดยปัจจัยสำคัญคือการที่ประเทศจีนได้การดำเนินการและวางแผนนำมาใช้งานเป็นจำนวนมาก โดยการให้บริการMassive IoTผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วยเทคโนโลยีNB-IoTและ Cat-M1จะเป็นตัวผลักดันสำหรับการเติบโตนี้ สร้างโอกาสแก่ผู้ให้บริการในการพัฒนาประสิทธิภาพและยกระดับการให้บริการแก่ลูกค้า

ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่หลายรายทั่วโลกได้ริเริ่มให้บริการธุรกิจIoTผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ LTE (หรือ 4G)ไปแล้วกว่า 60ตัวอย่างโดยการนำ IoTไปใช้งานเช่นการจัดการระบบขนส่งและควบคุมขบวนยานพาหนะในภูมิภาคอเมริกาเหนือ ในขณะที่ประเทศจีนใช้ในการสร้างมหานครอัจฉริยะ(Smart City)และการเกษตร เป็นต้น

5G เชิงพาณิชย์พร้อมให้บริการภายในปีนี้

อีริคสันคาดการณ์ว่า5Gจะเริ่มต้นที่ภูมิภาคอเมริกาเหนือเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากผู้ให้บริการรายสำคัญในสหรัฐอเมริกาได้มีการวางแผนนำ 5Gมาใช้ตั้งแต่ปลายปี 2561ถึงต้นปี 2562โดยภายในปี 2566 คาดการณ์ว่าจะมีผู้สมัครใช้งาน 5Gสูงถึง 50 เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานทั้งหมดในภูมิภาคอเมริกาเหนือ รองลงมาคือภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ 34เปอร์เซ็นต์ และภูมิภาคยุโรปตะวันตกอยู่ที่ 21 เปอร์เซ็นต์

อีริคสันคาดการณ์ว่าปี2563การใช้งาน 5Gจะเริ่มมีความสำคัญเป็นอย่างมากทั่วโลกและภายในปี 2566จะมีผู้ใช้งานบนโครงข่าย5Gถึงหนึ่งพันล้านรายเพื่อที่จะยกระดับการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเทียบเท่ากับ12เปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดจะอยู่บนโครงข่าย 5G

ในปี 2566ปริมาณการใช้ข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่จะเพิ่มขึ้นถึง 8เท่า เป็นจำนวนถึง107 เอ็กซะไบต์ (EB) ต่อเดือนหรือเทียบเท่ากับผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้งหมดทั่วโลกดูวีดีโอสตรีมมิ่งพร้อมกันเป็นเวลา 10 ชั่วโมงติดต่อกันนอกจากนี้ปริมาณการใช้ข้อมูลทั่วโลกผ่านเครือข่าย 5Gจะมีมากถึงถึง 20เปอร์เซ็นต์ซึ่งมากกว่าการใช้ 4G/3G/2Gในวันนี้รวมกันถึง 1.5เท่า

5G จะถูกนำมาใช้ในเขตเมืองมีความหนาแน่นของประชากรสูงก่อนเฉกเช่นเดียวกับ 2G, 3G และ 4Gทั้งนี้เนื่องจากต้องการสร้างบริการอินเตอร์ความเร็วสูงทั้งแบบเคลื่อนที่และประจำที่ยกระดับการสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและFixed Wireless Accessหลังจากนั้นก็จะถูกนำมาประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม สาธารณูปโภค และสาธารณสุข เป็นต้น

เฟรดดริก เจดดริงค์ รองประธานบริหารและหัวหน้างานฝ่ายธุรกิจเครือข่าย กล่าวว่าปี 2561จะเป็นปีที่สำคัญที่จะมีการให้บริการ 5Gเชิงพาณิชย์รวมทั้งจะมีการนำ Cellular IoT มาใช้งานจำนวนมหาศาล เทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถ และส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคประชาชนทั่วไปและภาคอุตสาหกรรมต่างๆ การเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในภาคโทรคมนาคมและและหน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐร่วมมือกันในเรื่องของคลื่นความถี่ มาตรฐาน และเทคโนโลยี

นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าอุปกรณ์ที่สามารถรองรับเทคโนโลยี 5G รุ่นแรกจะพร้อมใช้งานตั้งแต่ครึ่งปีหลังของปี 2561เป็นต้นไป โดยสมาร์ทโฟนเครื่องแรกที่จะรองรับเทคโนโลยี 5G ในย่านความถี่ ช่วง3.5 GHzจะเปิดตัวประมาณต้นปีหน้า ขณะที่สมาร์ทโฟนที่จะรองรับคลื่นความถี่ในย่านที่สูงขึ้นจะถูกเปิดตัวประมาณกลางปี 2562

อัพเดทสถานการณ์ในประเทศไทย

นาดีน อัลเลน ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “เทคโนโลยี LTE (หรือ 4G) จะเป็นเทคโนโลยีหลักที่สำคัญในประเทศไทยไปจนถึงปี 2566 โดยสัดส่วนปริมาณการใช้งานเทคโนโลยี LTE (หรือ 4G) และ 5G รวมกันจะอยู่ที่ประมาณ 76 เปอร์เซ็นต์ของการใช้งานทั้งหมดในประเทศไทย โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2560 ซึ่งมีสัดส่วนการสมัครใช้งานของ LTE (หรือ 4G) อยู่เพียง36 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น”

นาดีน อัลเลน ประธาน บริษัท อีริคสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “เราคาดการณ์ว่า 5G จะเกิดขึ้นในประเทศไทยระหว่างปี 2563 ถึง 2565 และมีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้แก่ผู้ให้บริการ โดยในประเทศไทยเราประเมินว่าเทคโนโลยี 5G จะสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้ให้บริการได้สูงขึ้นถึง 2.6 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 22 ของรายได้ที่คาดการณ์ไว้ภายในปี 2569  โดยอุตสาหกรรมการผลิต อุตสาหกรรมด้านพลังงานและสาธารณูปโภค และความปลอดภัยด้านสาธารณะ จะเป็นภาคส่วนที่ผู้ให้บริการสามารถสร้างรายได้จาก 5G ได้มากที่สุด”

การสมัครใช้งานข้อมูล

จากผลสำรวจบ่งชี้ว่ารูปแบบการใช้งานข้อมูลแบบทั่วไปและการใช้งานแบบระยะยาวของแพ็คเกจใหญ่จะดึงดูดความสนใจและเพิ่มสัดส่วนการใช้งานของลูกค้าได้ดี อีริคสันได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจาก App Annie พบว่าช่วงระยะเวลาหนึ่งปี (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2560 ถึงเมษายน 2561) สัดส่วนของผู้สมัครใช้งานแพ็คเกจสูงกว่า 5 กิกกะไบต์ (GB) ต่อเดือน เติบโตขึ้นถึง 46 ถึง 58 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนคืออัตราการเติบโตของการใช้ข้อมูลของผู้บริโภค การเติบโตของตลาดสมาร์ทโฟน และแพ็คเกจข้อมูลที่น่าสนใจจากผู้ให้บริการ”

การใช้งานแอพพลิเคชั่น

การใช้ข้อมูลผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย โดยการบริโภคข้อมูลประเภทวิดีโอและโซเซียลมีเดียเป็นแรงผลักดันที่สำคัญ อีริคสันได้ทำการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจาก App Annie พบว่าช่วงระยะเวลาหนึ่งปี (ตั้งแต่เดือนเมษายน 2560ถึงเมษายน 2561) คนไทยใช้ Facebookผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่อยู่ที่ประมาณ 58เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ผู้สมัครใช้งาน Instagramเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในระยะเวลาหนึ่งปี

ทั้งนี้รายงานEricssonMobility Reportยังมีบทความที่น่าสนใจอีกมากมายเกี่ยวกับประสิทธิภาพของเครือข่ายในมุมมองของผู้บริโภค โรงงานอัจฉริยะ การจัดการเครือข่ายด้วยเครื่องจักรกลอัจฉริยะ และความสำคัญของการมีคลื่นความถี่ที่เหมาะสมสำหรับ 5G ผู้ที่สนใจสามารถอ่าน Ericsson Mobility Reportฉบับเต็มได้ที่นี่

หมายเหตุ:

01_Cellular IoT connections per region 02_Connected devices 03_5G addressable per industry 04_Data package subscription





Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

To Top