PR

มาแล้ว!! สิ่งที่ชาวกรุงรอคอย บัตรแมงมุม บัตรเดียวจ่ายได้ทั้งค่า BTS, MRT, รถเมล์, เรือเมล์, 7-eleven, ทางด่วน

20170321-093113-20170202-131938-IMG_2819-79845-720-610x303

พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เชิญชวนประชาชนและภาคธุรกิจหันมาชำระเงินโดยใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์หรือผ่านทางสมาร์ทโฟน มีเป้าหมายให้สังคมไทยก้าวสู่ “สังคมไร้เงินสด” มากขึ้น เพื่อความสะดวกสบาย และปลอดภัยไม่ต้องกลัวถูกฉกชิงวิ่งราว สนองนโยบายไทยแลนด์ 4.0

แน่นอนทุกองคาพยพต้องผลักดันไปสู่เป้าหมาย ซึ่ง “บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” หรือ “บัตรคนจน” ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ใช้แทนเงินสดในการลดค่าครองชีพของประชาชน ได้แก่ ช่วยลดราคาค่าแก๊ส ช่วยเหลือค่าเดินทาง เช่น ขึ้นรถเมล์ฟรีได้เดือนละ 500 บาท แบบว่าไม่ต้องแจกเงินสดๆ แค่ใส่มูลค่าในบัตรให้ไปรูดปี๊ด!!

89633_th

ล่าสุด สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร หรือ สนข. หน่วยงานใต้สังกัด กระทรวงคมนาคม ได้จัดงานสื่อมวลชนสัมพันธ์การดำเนินงานบริหารจัดการระบบตั๋วร่วมเพื่อเปิดตัว “ตั๋วร่วม” อย่างเป็นทางการ

นิยามของตั๋วร่วม…คือ ตั๋วใบเดียวที่จะนำมาใช้เป็นบัตรโดยสารได้ทุกระบบการเดินทาง ซึ่งในต่างประเทศใช้ระบบตั๋วร่วมมานานหลายปีแล้ว สนข. ได้จัดประกวดให้ตั้งชื่อตั๋วร่วมชิงรางวัลกันด้วย

20170321-093113-20170202-131938-IMG_2819-79845-720-610x303
โดยชื่อที่ได้รับการคัดเลือก คือชื่อที่เรียกง่ายๆ แต่สื่อความหมายดีมากๆ ว่า “บัตรแมงมุม” เปรียบระบบการขนส่งทุกโหมดเดินทางทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า รถไฟ เรือโดยสาร รวมทั้งทางด่วนเป็นโครงข่ายใยแมงมุมที่ใช้บัตรใบเดียวเชื่อมโยงทุกการเดินทาง

นอกจากความสะดวกสบายแค่พก “บัตรแมงมุม” ใบเดียว ใช้เดินทางได้ทุกโหมด ไม่เสียเวลาแลกเหรียญหรือแลกตั๋วโดยสาร ไม่ต้องกลัวตั๋วหายแล้ว บัตรแมงมุมจะมีส่วนลดค่าโดยสารให้ด้วย โดยในอนาคตจะลดค่าแรกเข้าระบบ เช่น จากรถไฟฟ้าบีทีเอสต่อรถไฟฟ้าเอ็มอาร์ทีสายสีน้ำเงิน (หัวลำโพง-บางซื่อ) หรือรถไฟฟ้าสีม่วง (บางใหญ่-คลองบางไผ่) ซึ่งเป็นคนละสายหรือเป็นคนละระบบกัน ก็จะยกเว้นค่าแรกเข้าให้ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง

ที่สำคัญยังช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ ได้ด้วย หากสามารถดึงดูดประชาชนใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น อีกทั้งการแตะบัตรผ่านทางด่วน จะช่วยลดปัญหารถติดขัดหน้าด่านจากการทอนเงิน

“บัตรแมงมุม” มี 3 ประเภท คือบัตรบุคคลทั่วไปสีน้ำเงิน บัตรนักเรียน/นักศึกษาสีเทา และบัตรผู้สูงอายุสีทอง เพื่อแยกส่วนลดของแต่ละวัย มีค่ามัดจำและธรรมเนียมประมาณ 150 บาท

 

20170905161510-28

ช่วงแรกจะพิจารณาลดค่ามัดจำเหลือ 50 บาท หรือยกเว้นให้ ในหลักการสามารถเติมเงินในบัตรได้สูงสุด 10,000 บาท กรณีบัตรหายสามารถขออายัดวงเงินได้ เป็นรายละเอียดคร่าวๆ ที่ นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. สแกนถึงบัตรแมงมุม

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 ส.ค.ที่ผ่านมา มีมติให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนิน “โครงการตั๋วร่วม” โดยเฉพาะการจัดตั้งบริษัทจัดการและบำรุงรักษาระบบตั๋วร่วม (CTC) ระยะแรกให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ที่ดูแลโครงข่ายรถไฟฟ้ารับผิดชอบก่อน จากนั้นต้องจัดตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการที่มีเอกชนผู้ให้บริการทุกรายเข้าร่วมถือหุ้นภายในเดือน ก.ค.61

รฟม. จะนำรายละเอียดเสนอคณะกรรมการหรือบอร์ดพิจารณาเร็วๆ นี้ จากนั้นจะลงนามบันทึกข้อตกลงหรือเอ็มโอยู (MOU) กับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีอีเอ็ม และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เพื่อเจรจาเงื่อนไขการติดตั้งระบบตั๋วร่วมบนรถไฟฟ้าต่อไป

นายชัยวัฒน์ บอกข่าวดีด้วยว่าขณะนี้ สนข. ได้จัดเตรียม “บัตรแมงมุม” ล็อตแรกไว้แล้ว 2 แสนใบ อยู่ระหว่างเซ็นระบบข้อมูล เตรียมแจกประชาชนทดลองใช้ฟรีปลายปีนี้ ดีเดย์กับรถเมล์องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ที่กำลังติดตั้งระบบตั๋วอัตโนมัติหรืออีทิคเก็ต (E-Ticket) ในรถร้อน 800 คัน ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้ เพื่อรองรับการใช้ “บัตรคนจน” ที่จะได้สิทธิ์ขึ้นรถเมล์ฟรี 800 คัน คนละ 500 บาทต่อเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. นี้ ดังนั้น “บัตรคนจน” ก็ถือว่ามีรูปแบบคล้าย “ตั๋วร่วม” ที่ประชาชนได้ประเดิมใช้กันไปก่อน

นายชัยวัฒน์ กล่าวต่อว่า สนข. มีแผนเปิดจำหน่ายบัตรแมงมุมตามจุดต่างๆ เช่น สถานีรถไฟฟ้า ป้ายรถเมล์ ร้านสะดวกซื้อ เพื่อให้เข้าถึงได้ง่าย การใช้งานบัตรแมงมุมระยะ (เฟส) แรก คือปลายปีนี้กับรถเมล์ ขสมก.ที่ติดตั้งอีทิคเก็ตแล้วเสร็จ 800 คัน และจะเพิ่มเป็น 2,600 คัน รวมถึงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-คลองบางไผ่ ในเดือน มี.ค. 61 ส่วนรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อและรถไฟฟ้าสายสีเขียวหรือบีทีเอสประมาณเดือน มิ.ย.-ก.ค. 61 เพราะต้องรอเชื่อมระบบ

จากนั้นจะเริ่มพัฒนาในเฟส 2 ให้ใช้งานได้ราวปี 62 กับทางด่วนและมอเตอร์เวย์ เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือคลองแสนแสบ ส่วนรถไฟมีระบบการซื้อตั๋วแตกต่างกับขนส่งประเภทอื่นๆ จึงรอการพัฒนาต่อไป นอกจากนี้ยังเจรจากับผู้ประกอบการนอกภาคขนส่ง

เช่น เครือซีพีผู้บริหารร้านสะดวกซื้อเซ่เวนฯ เดอะมอลล์ เครือเซ็นทรัลและธนาคารต่างๆ ให้เข้าร่วมโครงการในหลายรูป เช่น ให้บริการเต็มเงิน ใช้บัตรแมงมุม ใช้ซื้อสินค้าและบริการต่างๆ ได้ด้วย

 

Travel_02-610x343





Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

To Top