Ninefar

โค้งสุดท้าย “ลดหย่อนภาษี” เปลี่ยนเงินโบนัส-รายได้ให้กลายเป็น “เงินออม” ทรูมันนี่แนะ 4 ข้อพิจารณาก่อนเลือกลงทุนเพื่ออนาคตกับ e-Wallet

นอกจากเรา “เสียภาษีทางตรง” จากการที่กรมสรรพากรเรียกเก็บทุกปีอย่าง “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” หรือ “ภาษีนิติบุคคล” แล้ว ยังมี “เสียภาษีทางอ้อม” ที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจากผู้บริโภคเมื่อขายสินค้าและบริการต่าง ๆ อาทิ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ภาษีธุรกิจเฉพาะ (Specification Business Tax) และอากรแสตมป์ (Stamp Duty) โดยข้อมูลการเก็บภาษีจากกรมสรรพากรที่รวบรวมโดยสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (DGA)ระบุในปี 2562 “ภาษีมูลค่าเพิ่ม คือภาษีที่มีมูลค่าการจัดเก็บสูงที่สุดถึง 6 แสนล้านบาท สะท้อนให้เห็นว่าการใช้จ่ายแต่ละวันของเราล้วนข้องเกี่ยวกับการเสียภาษี ตั้งแต่เราลืมตาตื่นหยิบยาสีฟันหลอดใหม่ที่เพิ่งซื้อมาจากร้านสะดวกซื้อเมื่อคืน เติมน้ำมันรถในปั้มข้างบ้านหรือซื้อตั๋วโดยสารรถประจำทางเพื่อไปทำงานต่อ จ่ายเงินซื้ออาหารจานด่วนหลากหลายมื้อตามร้านอาหาร ไปจนถึงการจ่ายค่าโทรศัพท์ ค่าเน็ต และค่าช็อปปิ้งใน Supermarket รวมถึงการช็อปในโลกออนไลน์

 

ข้อมูลจาก ธปท.ระบุ ณ เดือนกันยายน 2563 คนไทยมีเงินฝากเฉลี่ยต่อบัญชีเพียง 4,754 บาทเท่านั้น! สวนทางกับความเป็นจริงที่ว่า “เงินออม” เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากในทุกช่วงของชีวิตไม่ว่าจะเป็นช่วงเริ่มต้นทำงานในวัย 24-25 ปี ที่หลายคนต้องการเก็บเงินเพื่อรถคันแรก หรือขยับมาช่วงวัย 28-35 ปี ที่อยากเก็บเงินไว้สร้างครอบครัว บ้านหลังแรก และเป็นทุนการศึกษาให้ลูก หรือแม้แต่ช่วงเกษียณในวัย 60 ปี สำหรับผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์เสียภาษีที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 11-12 ล้านรายและกลุ่มผู้เสียภาษีหน้าใหม่อย่างวัยเริ่มต้นทำงาน ถึงเวลาแล้วที่ควรเริ่มลงมือวางแผน ลดหย่อนภาษี อย่างจริง ๆ จัง ๆเพราะเป็นสิทธิที่ผู้มีเงินได้พึงได้รับ นอกจากสร้างหลักประกัน ลดค่าใช้จ่าย แถมยังเพิ่มเงินออมเก็บไว้ใช้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ในอนาคตหากเราวางแผนไว้แต่เนิ่น ๆ ก็จะมีเงินออมใช้จ่ายเหลือ ๆ แบบคูล ๆ และคุ้มค่ายิ่งขึ้นถ้าการลงทุนนั้นสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีก ลองตรวจเช็คตารางการลดหย่อนภาษี ทั้งกองทุนรวมและประกันฯ ปี 2563 และคำนวณเงินภาษีที่ต้องจ่ายตามด้านล่างเพื่อเริ่มต้นการเป็นนักลงทุนแบบ Cashless

สูตรการคำนวณภาษีง่าย ๆ จาก ทรูมันนี่

เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ

จากนั้น

เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี* = เงินภาษีที่ต้องจ่าย

(เครื่องคำนวณภาษีจากตลาดหลักทรัพย์)

 

วันนี้การลงทุนพลิกโฉมไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิงด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางด้านการเงินที่ก้าวหน้าไปไกล เปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการลงทุนได้สะดวกเหมือนเราใช้จ่ายผ่านแอปฯ e-Wallet ทั้งการเปิดบัญชีออมทรัพย์ บัญชีกองทุนรวม หรือจะเลือกซื้อประกันฯ ก็ทำได้ผ่านแอปฯ แบบไม่ต้องใช้เงินสด อย่าปล่อยให้โค้งสุดท้ายในการได้สิทธิ์ลดหย่อนฯ หลุดลอยไป สำหรับใครที่กำลังมองหาการลงทุนแนวใหม่ในกองทุนรวม ทรูมันนี่ มีหลัก 4 ข้อ มาให้พิจารณาง่าย ๆ ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ดังนี้

 

ทำไมต้องลงทุนผ่าน e-Wallet

ด้วยนวัตกรรมการเงินล้ำ ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการลงทุนสมัยใหม่โดยเฉพาะ ช่วยปิดข้อจำกัด ทลายความกังวลใจเรื่องการลงทุนให้กับทั้งนักลงทุนมือใหม่และมือเก๋า ที่สำคัญ “1 บาทก็เริ่มลงทุนได้ ผ่านแอปฯ TrueMoney Wallet ตัวช่วยลดหย่อนภาษียุค Cashless Society ที่มีจุดเด่นมากมาย ดังนี้

 

สำหรับใครที่กำลังมองหา กองทุนรวม SSF/RMF หรือวางแผนซื้อประกันฯ ผ่านแอปพลิเคชั่น TrueMoney Walletสามารถคลิกอ่านรายละเอียดและเริ่มลงทุนวันนี้เพื่อความมั่งคั่งในวันหน้าได้ที่ https://www.truemoney.com/taxsaving/