App Thai

“หมอชนะ” แอปพลิเคชันเพื่อการระวังภัยโควิด-19 ลดความเสี่ยงบุคลากรทางการแพทย์ในภารกิจพิชิตไวรัสร้าย

ภาพประกอบข่าว

แอปพลิเคชัน“หมอชนะ”คือระบบเก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชนเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบและประเมินระดับความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 จากสถานที่ต่างๆได้ด้วยตัวเองอีกทั้งยังสนับสนุนบุคลากรทางการแพทย์ในการวิเคราะห์ระดับความเสี่ยงในการติดเชื้อของประชาชนที่เข้ารับการรักษาพยาบาลได้อย่างรวดเร็วแม่นยำเสริมมาตรการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ให้มีประสิทธิภาพและวัดผลได้โดยคนไทยทุกคนสามารถลดการระบาดได้อย่างเป็นรูปธรรมด้วยวิธีง่ายๆเพียงดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “หมอชนะ”และเช็คอินด้วยแอปนี้เมื่อเข้าสู่อาคารสถานที่ต่างๆตั้งแต่วันที่ 10 เมษายน 2563 เป็นต้นไป

ภาพประกอบข่าว

แอป “หมอชนะ”เป็นผลลัพธ์ของการผนึกกำลังระหว่าง “ทีมพัฒนาร่วมประชาชนเอกชนและภาครัฐ”นำโดยกลุ่มผู้พัฒนาซอฟต์แวร์อิสระภายใต้ชื่อ“Code for Public”และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์และการวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้ชื่อ “กลุ่มช่วยกัน”ซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากสถาบันการศึกษาเครือข่ายโรงพยาบาลและองค์กรสาธารณสุขหน่วยงานภาครัฐและองค์กรธุรกิจจำนวนมากเช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธรมหาวิทยาลัยมหิดลมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหาวิทยาลัยบูรพากระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกระทรวงสาธารณสุขสถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ภาครัฐสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)  บมจ. กสทโทรคมนาคมบมจ.ทีโอทีบจก.ไปรษณีย์ไทยโรงพยาบาลรามาธิบดีโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์โรงพยาบาลวชิรพยาบาลโรงพยาบาลภูมิพลสภากาชาดไทยตลอดจนองค์กรเอกชนจากหลากอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสารโทรคมนาคมได้แก่Dtac AIS และTrue ด้านการเงินธนาคารได้แก่กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรด้านเทคโนโลยีได้แก่บมจ.เอ็มเอฟอีซีบจก.Blockfintบจก.Cleverseบจก.ทรูเวฟ (ประเทศไทย) บจก. Invitraceบจก. เอเทนเทคโนโลยีส์ (ไทยแลนด์)บจก. NODSTARLongdo Mapด้านพลังงานได้แก่บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ด้านยานยนต์โลจิสติกส์และก่อสร้างได้แก่บจก.เจแปนคาร์แอดแซสเซอรี่แอนด์พาร์ทบจก.ฮอนด้าประเทศไทยบจก.เค.คอนเนคเวิลด์ไวด์ (ประเทศไทย) บจก. โกลบเทคด้านบริการสื่อสารและบันเทิงได้แก่บมจ.เวิร์คพอยท์เอ็นเทอร์เทนเมนท์Rabbit Digital Group Likehouseบจก. แมดอะไรดีร่วมด้วยสื่อมวลชนและกลุ่มพลังอิสระเพื่อสังคมได้แก่บมจ.มติชนบมจ.เนชั่นมัลติมีเดียกรุ๊ปสำนักข่าวอิศราหนังสือพิมพ์เดลินิวส์หนังสือพิมพ์ผู้จัดการสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทยและมูลนิธิสะพานบุญเป็นต้น

ดร.อนุชิตอนุชิตานุกูล, นายสุทธิพงศ์กนกากรและผศ.ดร.ณัฐวุฒิหนูไพโรจน์ตัวแทนทีมพัฒนาร่วมประชาชนเอกชนและภาครัฐผู้พัฒนาแอปพลิเคชันกล่าวถึงที่มาของการพัฒนาแอป “หมอชนะ”ว่า “ตลอดช่วงเวลา 2 – 3 เดือนที่ผ่านมาคนไทยทุกคนได้เห็นถึงความเสียสละของบุคลากรทางการแพทย์ที่เสี่ยงทำงานอยู่ด่านหน้าต้องเหน็ดเหนื่อยต้องทิ้งบ้านทิ้งครอบครัวมาทำงานเพื่อชาติอย่างโดดเดี่ยวพวกเราอาสาสมัครจากทั้งภาครัฐและเอกชนจึงช่วยระดมทักษะความรู้ด้านการเขียนโปรแกรมการวิเคราะห์ข้อมูลหรือทรัพยากรต่างๆที่แต่ละคนมีมาสร้างเป็นแอป “หมอชนะ”ที่เราเชื่อว่าจะทำให้ทัพหน้าทางการแพทย์ของเราสามารถสู้รบกับโรคนี้ได้ดีขึ้น”

นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (4) ดร.อนุชิต อนุชิตานุกูล ตัวแทนทีมพัฒนาร่วมประชาชน เอกชนและภาครัฐ ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน (2)

“ปัญหาหนึ่งที่เราพบว่าเป็นอุปสรรคต่อการทำงานและคุกคามชีวิตบุคลากรทางการแพทย์อย่างมากคือการปกปิดข้อมูลของประชาชนในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งหลายครั้งทำให้แพทย์และพยาบาลต้องหยุดการทำงานทีละเป็นกลุ่มใหญ่เพื่อกักตัวเองหรือแม้กระทั่งล้มป่วยเมื่อพบในภายหลังว่าผู้มารับบริการติดเชื้อโควิด-19 แอป “หมอชนะ”จะแก้ปัญหานี้โดยอาศัยเทคโนโลยีGPS และBluetooth ติดตามตำแหน่งของผู้ใช้แอปและแสดงให้เห็นว่าผู้ใช้แอปได้ผ่านพื้นที่ที่เป็นพื้นที่เสี่ยงมาหรือไม่ทำให้เมื่อผู้มารับบริการทางการแพทย์แสดงข้อมูลในแอปบุคลากรทางการแพทย์ก็จะสามารถจัดลำดับความเร่งด่วนและวางมาตรการในการรักษาหรือส่งตรวจได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำนอกจากนั้นสำหรับผู้ใช้แอปทั่วไปที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ก็สามารถตรวจดูแอปเพื่อประเมินได้ว่าพื้นที่ใดเป็นพื้นที่เสี่ยงแล้วปรับเปลี่ยนแผนการเดินทางหรือบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมซึ่งย่อมจะทำให้ทุกคนสามารถเว้นระยะห่างทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นอีกด้วย”

แอป “หมอชนะ”ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่ายและมุ่งประสิทธิผลในการคัดกรองความเสี่ยงโดยไม่ให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพและข้อมูลส่วนบุคคลดังนั้นการลงทะเบียนใช้แอปจึงเป็นแบบไม่ระบุตัวตน (Anonymous) ยิ่งกว่านั้นคณะรวมอาสาสมัครยังได้ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลจัดตั้งกรรมการอิสระเพื่อตรวจสอบกระบวนการจัดการข้อมูลให้เป็นไปตามพ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลพ.ศ.2562 โดยเมื่อผ่านวิกฤตการณ์โควิด-19 แล้วข้อมูลทั้งหมดจะถูกทำลายทิ้งทันทีอีกทั้งการโค้ดแอปยังมีลักษณะเป็น ‘โอเพ่นซอร์ส(Open Source)’ เพื่อให้โปร่งใสตรวจสอบได้และง่ายต่อการส่งต่อไปยังระบบอื่นๆเพื่อขยายผลต่อไปอีกด้วย

ทั้งนี้หัวใจการทำงานของแอปอยู่ที่การรายงานผลเป็นค่าสีต่างๆตามระดับความเสี่ยงแบ่งเป็น

  • สีเขียว สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงต่ำมาก ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีอาการ ไม่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
  • สีเหลือง สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงน้อย ซึ่งอาจจะมีอาการไข้หวัด แต่ไม่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา
  • สีส้ม สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยง เพราะเป็นคนที่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา แต่ไม่แสดงอาการหรือมีอาการไม่เด่นชัด คนในกลุ่มนี้ต้องกักตัวอยู่กับบ้านจนครบ 14 วัน พร้อมทั้งเฝ้าระวัง ถ้ามีอาการควรรีบไปโรงพยาบาลทันที
  • สีแดง สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะทั้งมีอาการ และมีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา จะต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที

นอกจากนี้ในอนาคต เมื่อมีฐานข้อมูลเพียงพอ ค่าสียังมีการเปลี่ยนแปลงอัพเดตแบบเรียลไทม์ตามข้อมูลการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ทำให้ทุกครั้งที่มีการพบผู้ติดเชื้อรายใหม่และระบบพบว่าผู้ใช้งานมีประวัติการเดินทางเข้าใกล้ผู้ติดเชื้อรายใหม่นั้นในช่วงที่ผ่านมาแอปจะเตือนผู้ใช้งานให้รับรู้ถึงความเสี่ยงที่เปลี่ยนไปด้วยค่าสีใหม่ซึ่งจะนำไปสู่ความระมัดระวังและการปรับพฤติกรรมของผู้ใช้ได้อย่างดีขึ้น

ด้วยเหตุนี้แอป “หมอชนะ”จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายทั้งบุคลากรทางการแพทย์ประชาชนทุกคนและภาคธุรกิจ

  • ช่วยแพทย์แอปทำหน้าที่ติดตามข้อมูลการเดินทางและการเช็คอินในสถานที่ต่างๆของประชาชนผู้ใช้แอปและแสดงระดับความเสี่ยงของบุคคลนั้นได้แบบอัตโนมัติและเรียลไทม์โดยหากพบว่าผู้ใช้แอปที่มาขอรับบริการทางการแพทย์มีความเสี่ยงสูงแพทย์ก็จะสามารถป้องกันตนเองได้อย่างพอเพียงอีกทั้งจัดลำดับความเร่งด่วนและวางมาตรการในการรักษาหรือส่งตรวจบุคคลผู้นั้นได้อย่างรวดเร็วซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์และทำให้ภาครัฐสามารถควบคุมสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ช่วยประชาชนผู้ใช้แอป “หมอชนะ”จะมีช่องทางรับรู้ข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ผู้ติดเชื้อของประเทศที่ถูกต้องครบถ้วนและอัพเดตที่สุดผ่านการตรวจสอบค่าสีความเสี่ยงของตนเองนอกจากนั้นแอปยังช่วยแสดงวิธีการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของผู้ใช้งานแต่ละคนและในอนาคตจะมีการแจ้งเตือนหากพบผู้ป่วยรายใหม่ที่เคยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับผู้ใช้แอปณเวลาใดเวลาหนึ่งที่ผ่านมาอีกด้วย
  • ช่วยภาคธุรกิจผู้ใช้แอป “หมอชนะ”ที่เป็นผู้ประกอบการต่างๆไม่ว่าห้างร้านโรงงานสถานที่หรือธุรกิจใดๆจะสามารถขอตรวจสอบความเสี่ยงของลูกค้าหรือพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและวางมาตรการบริหารจัดการได้อย่างเหมาะสมซึ่งย่อมจะช่วยให้การทำมาค้าขายหรือกิจกรรมทางเศรษฐกิจกลับมาเป็นปกติได้รวดเร็วกว่าเดิม

นายพุทธิพงษ์ปุณณกันต์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกล่าวถึงการเปิดใช้แอป  “หมอชนะ”ว่า “ในวิกฤตการณ์นี้เราทุกคนมีหน้าที่ต้องดูแลตัวเองดูแลสังคมและช่วยสนับสนุนคุณหมอนักรบแถวหน้าให้นำประเทศของเราพ้นภัยโควิด-19 ไปให้ได้แอป “หมอชนะ”นับเป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วนอย่างแท้จริงเพราะเป็นการรวมตัวเฉพาะกิจที่มีการสนับสนุนการทำงานของแพทย์ให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพที่สุดเป็นเป้าหมายร่วมเราหวังว่าประชาชนทุกคนจะร่วมกับเราในภารกิจนี้ด้วยการช่วยกันใช้แอป “หมอชนะ”กันอย่างกว้างขวาง”

นายแพทย์ไผทสิงห์คำแพทย์ระบาดวิทยาภาคสนามกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขกล่าวว่า “ปกติเราจะเน้นการต้องดูแลตัวเองเช่นการล้างมือใส่หน้ากากอนามัยหรือหลีกเลี่ยงการไปจุดที่แออัดเพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อโควิด-19รวมถึงโรคหวัดอื่นๆแต่ในชีวิตประจำวันเราอาจจะมีความจำเป็นต้องไปทำงานหรือไปธุระนอกบ้านซึ่งอาจสัมผัสผู้ป่วยโดยไม่รู้ตัวการมีเครื่องมือบางอย่างที่จะทำให้เรารับรู้สถานะความเสี่ยงของตนเองได้รวมถึงเป็นช่องทางให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขติดต่อได้รวดเร็วเพื่อนำผู้ที่เสี่ยงต่อการป่วยโรคโควิด-19ไปสู่กระบวนการรักษาได้รวดเร็วจะช่วยให้การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อได้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทำให้สังคมโดยรวมมีความปลอดภัยมากขึ้น”

Print

ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงขอความร่วมมือประชาชนผู้ใช้สมาร์ตโฟนสร้างสุขนิสัยใหม่ที่จะเอาชนะโควิด-19 ได้ด้วยการช่วยกันดาวน์โหลดและใช้งานแอป “หมอชนะ”อย่างต่อเนื่องรวมถึงขอให้เจ้าของอาคารสถานที่ผู้ประกอบการร้านค้าช่วยสนับสนุนข้อมูลที่จะทำให้แอปเกิดประสิทธิผลสูงสุดด้วยการ “เช็คอิน”ผู้มาเข้าใช้บริการยังสถานที่ของตนเองไม่ว่าจะด้วยการให้พนักงานของร้านสแกนQR code ของผู้มาใช้บริการหรือให้ประชาชนสแกนQR code ของร้านค้ารวมทั้งเชิญชวนพนักงานคู่ค้าและเครือข่ายของตนให้มาร่วมใช้แอปนี้กันอย่างแพร่หลายที่สุด โดยขณะนี้ กำลังอยู่ระหว่างขั้นตอนดำเนินงานประสานงานกับผู้ประกอบการธุรกิจ ร้านค้าต่าง ๆ

ดาวน์โหลดแอป “หมอชนะ”ทั้งบนระบบ iOS และ Android ได้ทาง QR Code

thumbnail_Mor Chana Tent Card





Click to comment

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

To Top